ทำไมชาเขียวถึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

ชาเขียวเป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ เนื่องจากอุดมไปด้วยสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นผลดีต่อร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยในกระบวนการทำงานของสมอง,ลดไขมัน,บรรเทาอาการไม่สบายท้องรวมถึงลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งอีกด้วย

สารประกอบทางชีวภาพในชาเขียว!

ชาเขียวมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพต่าง ๆ ที่ดีต่อสุขภาพ สารประกอบทางชีวภาพเหล่านี้มีจำนวนมากและพบได้สูงในใบชา รวมถึงโพลีฟีนอล เช่น ฟลาโวนอยด์และคาเทชินซึ่งทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลังอย่างยิ่ง

สารต้านอนุมูลอิสระสามารถป้องกันการก่อตัวของอนุมูลอิสระในร่างกาย ทั้งยังปกป้องเซลล์และลดความเสียหายของโมเลกุล ซึ่งอนุมูลอิสระเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันดีว่ามีผลกระทบด้านลบต่อกระบวนการชราภาพและโรคทุกชนิด

ประโยชน์ของชาเขียว

สารประกอบที่มีประสิทธิภาพของชาเขียว ได้แก่ epigallocatechin gallate (EGCG) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ โดยนักวิจัยหลายคนให้ความเห็นว่า EGCG มีคุณสมบัติในการรักษาโรค

ชาเขียวไม่ได้ทำให้คุณแค่รู้สึกตื่นตัว

ชาเขียวสามารถทำได้มากกว่าที่ทำให้คุณรู้สึกตื่นตัวตลอดเวลา หลายคนให้ข้อมูลว่าพวกเขารู้สึกมีพลังงานมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการดื่มกาแฟ เหตุผลของเรื่องนี้อาจเป็นเพราะปฏิกิริยาของคาเฟอีนที่มีอยู่ในชาเขียวและกรดอะมิโนแอล – ธีอะนีน นั้นเอง

L-Theanine ช่วยเพิ่มกิจกรรมของสารสื่อประสาทยับยั้ง GABA ซึ่งมีฤทธิ์ต้านความวิตกกังวล มีการศึกษาหลายที่ชี้ให้เห็นว่าคาเฟอีนและ L-theanine อาจมีฤทธิ์เสริมกัน

ชาเขียวมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

Green Tea Fat Burner!

ชาเขียวช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันและช่วยปรับปรุงสมรรถภาพทางกาย มีการศึกษาหลายแห่งแสดงให้เห็นว่ามีการเผาผลาญไขมันเพิ่มขึ้นมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป

สารยับยั้งมะเร็งในชาเขียว!

มะเร็งเกิดจากการเติบโตของเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้และเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตทั่วโลก ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระทำให้เกิดมะเร็ง

เนื่องจากชาเขียวพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นแหล่งที่ดีของสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เชื่อได้ว่าชาเขียวสามารถลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิจัยชี้ให้เห็นผลบวกของชาเขียวในมะเร็งต่อมลูกหมากและลำไส้ใหญ่

ชาเขียวป้องกันโรคอัลไซเมอร์และพาร์กินสัน!

ชาเขียวไม่เพียงแต่ช่วยปรับปรุงการทำงานของสมองในระยะสั้น แต่ยังสามารถป้องกันได้ในวัยชรา

อัลไซเมอร์เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบมากที่สุดและเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของภาวะสมองเสื่อม

โรคพาร์กินสันเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบมากเป็นอันดับสองและเกี่ยวข้องกับการตายของเซลล์ประสาทที่ผลิตโดปามีนในสมอง

งานวิจัยเกี่ยวกับแบบจำลองของสัตว์แสดงให้เห็นว่าสารประกอบคาเทชินในชาเขียวมีผลในเชิงป้องกันเซลล์ประสาท และลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์และพาร์คินสัน

ชาเขียวเพื่อสุขภาพฟันที่ดี!

สำหรับปัญหาฟันผุหรือคราบจุลินทรีย์ในปากโดยเฉพาะแบคทีเรียเช่น Streptococcus mutans นั้นเป็นสาเหตุให้เกิดคราบหินปูนที่เกาะสะสมอยู่ตามไรฟัน ซึ่ง catechins ที่อยู่ในชาเขียวช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของ Streptococcus mutans และช่วยให้มีสุขภาพของฟันที่ดีขึ้น ลดความเสี่ยงของโรคฟันผุ รวมถึงลดกลิ่นปากอีกด้วย

ชาเขียวสามารถลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานประเภทที่สอง!

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่สอง เพิ่มขึ้นอย่างมากประมาณ 300 ล้านคนทั่วโลก โรคนี้เกี่ยวข้องกับภาวะที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้ หรือไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

ในการทดลองขนาดใหญ่เจ็ดครั้งในญี่ปุ่นที่มีอาสาสมัครมากกว่า 270,000 คน พบว่า ผู้ที่ดื่มชาเขียวเป็นประจำมีโอกาสน้อยกว่าที่จะเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานถึง 18%

ป้องกันโรคหัวใจด้วยชาเขียว!

ชาเขียวช่วยเพิ่มความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของเลือดอย่างมากซึ่งช่วยปกป้องอนุภาคคอเลสเตอรอล LDL จากการเกิดออกซิเดชั่น เมื่อพิจารณาถึงผลกระทบเชิงบวกต่อปัจจัยเสี่ยงจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าที่ผู้ดื่มชาเขียวเป็นประจำจะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจลงประมาณ 30%

ข้อมูลอ้างอิง:

Antioxidative, Anti-Inflammatory, and Anticancer Effects of Purified Flavonol Glycosides and Aglycones in Green Tea.

Rha CS, Jeong HW, Park S, Lee S, Jung YS, Kim DO.

Antioxidants (Basel). 2019 Aug 5

Function of Green Tea Catechins in the Brain: Epigallocatechin Gallate and its Metabolites.

Pervin M, Unno K, Takagaki A, Isemura M, Nakamura Y.

Int J Mol Sci. 2019 Jul 25

Green tea extract inhibits early oncogenic responses in mice with nonalcoholic steatohepatitis.

Dey P, Kim JB, Chitchumroonchokchai C, Li J, Sasaki GY, Olmstead BD, Stock KL, Thomas-Ahner JM, Clinton SK, Bruno RS.

Unsere Website verwendet Cookies und sammelt dadurch Informationen über Ihren Besuch, um unsere Website zu verbessern (durch Analyse), Ihnen Social-Media-Inhalte und relevante Werbung zu zeigen. Bitte sehen Sie unsere Datenschutzerklärung für weitere Details oder stimmen Sie zu, indem Sie auf die Schaltfläche "Akzeptieren" klicken.

Cookie settings

Below you can choose which kind of cookies you allow on this website. Click on the "Save cookie settings" button to apply your choice.

FunctionalUnsere Website verwendet funktionale Cookies. Diese Cookies sind notwendig, damit unsere Website funktioniert.

AnalyticalUnsere Website verwendet analytische Cookies, die es ermöglichen, unsere Website zu analysieren und zu optimieren, u.a. im Hinblick auf die Benutzerfreundlichkeit.

Social mediaUnsere Website setzt Cookies für soziale Medien, um Ihnen Inhalte von Drittanbietern wie YouTube und FaceBook zu zeigen. Diese Cookies können Ihre persönlichen Daten verfolgen.

AdvertisingUnsere Website platziert Werbe-Cookies, um Ihnen auf der Grundlage Ihrer Interessen Werbung von Dritten zu zeigen. Diese Cookies können Ihre persönlichen Daten verfolgen.

OtherUnsere Website platziert Cookies von Drittanbietern, die nicht zu Analysezwecken, für soziale Medien oder Werbung verwendet werden.